26.6 C
Bangkok
Wednesday, December 4, 2024
Mitsubishi
มอเตอร์ไซค์​ honda
AD Banner_900x180
FORD900x192px_1
Honda_900x192px 2024
previous arrow
next arrow

ลมชักในเด็ก ร้ายแรงกว่าที่คิด

หากบุตรหลานของท่านมีอาการเหม่อ กล้ามเนื้อกระตุก หมดสติ หรือมีพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น หัวเราะโดยไม่มีเหตุผล กลัวโดยอธิบายไม่ได้ว่ากลัวอะไร ให้สงสัยไว้ก่อนว่าบุตรหลานของท่านอาจมีอาการของโรคลมชัก ที่สามารถพบได้ในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี และกว่าครึ่งไม่สามารถทราบสาเหตุได้

โรคลมชักเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็ก โดยทั่วโลกมีเด็กที่เป็นโรคลมชักกว่า 3.5 ล้านคนต่อปี ผู้ป่วยร้อยละ 40 เป็นผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี เมื่อคิดตามสัดส่วนประชากรจะพบว่า การเกิดโรคลมชักในเด็กจะอยู่ระหว่าง 3.5 – 7.2 ต่อประชากร 1,000 คน จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลยอย่างเด็ดขาด

พญ.สุชาวดี หอสุวรรณ กุมารแพทย์ ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า โรคลมชักจะมีทั้งแบบที่ชักเกร็งทั้งตัวและลมชักแบบที่เหม่อลอย เกิดจากคลื่นไฟฟ้าในสมองทำงานผิดปกติ นับเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและครอบครัวเป็นอย่างมาก ทั้งต่อพัฒนาการ การเลี้ยงดู การเข้าสังคม รวมถึงการเรียน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และรักษาอย่างทันท่วงที โดยสาเหตุของโรคลมชักสามารถเกิดได้จากภาวะต่าง ๆ ได้แก่ ความผิดปกติทางพันธุกรรม ความผิดปกติในโครงสร้างของสมอง การสร้างเนื้อสมองที่มีความผิดปกติ รวมถึงเส้นเลือด เช่น AVMs และเนื้องอกในสมอง ความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนก่อนคลอด ระหว่างคลอด รวมทั้งหลังคลอด เช่น การขาดออกซิเจนระหว่างคลอด การติดเชื้อในสมอง โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune disease) และ ไม่สามารถทราบสาเหตุได้ พบประมาณเกือบครึ่งนึงของผู้ป่วยทั้งหมด

Girl with EEG electrodes attached to her head for medical test

อาการลมชักที่เกิดจะมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับกระแสประสาทในสมองที่ผิดปกติเกิดที่ส่วนไหนของสมอง ผู้ป่วยอาจจะมีอาการ สับสน เหม่อ กล้ามเนื้อกระตุก หมดสติ หรือมีพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น หัวเราะโดยไม่มีเหตุผล กลัวโดยอธิบายไม่ได้ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์ที่มีความชำนาญ รวมทั้งการส่งตรวจเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม โดยการตรวจวินิจฉัยโรคลมชักจะขึ้นอยู่กับอาการเป็นหลัก แพทย์จะทำการซักประวัติอย่างละเอียดและใช้เครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อช่วยตรวจหาความผิดปกติ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) มีห้องที่สามารถ Monitor คลื่นไฟฟ้าสมองเพื่อตรวจหาจุดกำเนิดของคลื่นไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดอาการชักพร้อมวิดีทัศน์ (24 – Hour Video EEG Monitoring) การตรวจทางรังสี ได้แก่ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และ การตรวจหาจุดกำเนิดของคลื่นไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดอาการชักทางรังสีด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น PET CT, SPECT, Interictal SPECT, Ictal SPECT และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด, การตรวจสารพันธุกรรมที่อาจเป็นสาเหตุของโรคลมชัก ฯลฯ

ในส่วนของการรักษาหลัก ๆ ของโรคลมชักจะมี 2 แบบคือ การรักษาโดยใช้ยากันชัก โดยการให้ทานยาเป็นหลัก และการรักษาโดยวิธีอื่น เช่น ทานอาหารคีโต ที่แพทย์เฉพาะทางด้านโภชนาการเป็นผู้จัดให้สำหรับผู้ป่วยเด็ก หรือการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการฝังเครื่องกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส (Vagus Nerve Stimulation: VNS) เพื่อรักษาโรคลมชัก หรือการผ่าตัดสมอง รวมถึงการรักษาโรคร่วมที่พบอย่างอื่นด้วย เช่น การกระตุ้นพัฒนาการในเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า เป็นต้น

โดยลมชักในเด็กเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะสามารถเกิดขึ้นโดยที่เด็กไม่รู้ตัว การสังเกตอาการของเด็กและรีบทำการรักษาในโรงพยาบาลที่มีความพร้อมของกุมารแพทย์และทีมแพทย์ที่มีความชำนาญ พร้อมด้วยเครื่องมือทันสมัย มีห้องสำหรับ Monitor คลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG Monitoring Unit) ที่สามารถดูแลและตรวจรักษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง ย่อมช่วยให้เด็กไม่ต้องทรมานจากลมชักและลดความรุนแรงของโรคได้ในระยะยาว

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์โรคลมชัก ระบบประสาท สมองเด็ก รพ.กรุงเทพ โทร.0-2310-3006 หรือ แอดไลน์ https://bit.ly/3juXi4i 

Related Articles

Stay Connected

269FansLike
2,760SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles