ปตท.เปิดเผยผลการวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 28 ก.พ.-4 มี.ค. 65 และแนวโน้ม 7-11 มี.ค. 65 โดยตลาดน้ำมันสำเร็จรูปเบรนท์ (ICE Brent) ราคา 108.89 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +11.67 ตลาดน้ำมันสำเร็จรูป เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ราคา 106.62 เหรียญต่อบาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +11.04 เหรียญ สหรัฐฯ ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปดูไบ (Dubai) ราคา 106.17 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +11.04 เหรียญ สหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปซื้อซื้อขายล่วงหน้าประเทศสิงคโปร์ ราคาเบนซินออกเทน 95 ปรับราคาเพิ่มขึ้น +10.21 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 124.02 เหรียญ สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดีเซลราคาปรับราคาลดลง +14.87 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 127.66 เหรียญสหรัฐฯ
ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยในสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้น $11-14/BBL และในเช้าวันที่ 7 มี.ค. 65 ตลาดล่วงหน้าทำสถิติซื้อขายสูงสุดในรอบ 13 ปี โดย ICE Brent ทะยานแตะระดับ $139/BBL และ WTI ที่ระดับ $131/BBL หลังจาก รมว.กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ Antony Blinken กล่าวว่าสหรัฐฯ กำลังพิจารณามาตรการคว่ำบาตรรัสเซียเพิ่มเติม โดยสมาชิกวุฒิสภาเสนอร่างกฎหมายห้ามนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซีย เพื่อลงโทษกรณีบุกยูเครน
ทั้งนี้ร่างฯ ดังกล่าวจะต้องผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร และลงนามโดยประธานาธิบดี นาย Joe Biden ก่อนเป็นกฎหมายมีผลบังคับใช้ให้จับตาการเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ (Joint Comprehensive Plan of Action: JCPOA) ระหว่างอิหร่านกับมหาอำนาจ 6 ชาติ (P5+1 ได้แก่ สหรัฐฯ, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, จีน, และเยอรมนี) ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย หลังจาก รมว.กระทรวงการต่างประเทศของรัสเซีย Sergei Lavrov เรียกร้อง ให้สหรัฐฯ ออกหนังสือรับรองว่ามาตรการคว่ำบาตรรัสเซียจะไม่ครอบคลุมการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเทคโนโลยีระหว่างรัสเซียกับอิหร่าน
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
* การเจรจาหยุดยิงระหว่างคณะผู้แทนรัสเซียกับยูเครนไม่สามารถบรรลุข้อตกลง
* มาตรการคว่ำบาตรธนาคารรัสเซียหลายแห่งจากระบบ SWIFT (Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication) จะทำให้กระแสการค้าพลังงาน รวมสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ที่รัสเซียผลิต เช่น ธัญพืช ปุ๋ย ไม้ เหล็กกล้า Palladium Nickel หยุดชะงักอย่างมีนัยสำคัญ จนกว่าผู้ซื้อจะสามารถหาธนาคาร และระบบทางเลือกชำระเงินอื่นๆ ทั้งนี้รัสเซียผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ประมาณ 1/6 ของโลก
* การประชุมกลุ่ม OPEC และประเทศพันธมิตร (OPEC+) ในวันที่ 2 มี.ค. 65 มีมติยึดตามแผนเดิม คือ ผลิตน้ำมันดิบในเดือน เม.ย. 65 เพิ่มขึ้น 400 KBD ซึ่งตลาดมองว่าน้อยเกินไปภายใต้สภาวะอุปทานน้ำมันตึงตัว
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
* IEA แนะนำให้ประเทศสมาชิกระบายน้ำมันดิบจากคลังสำรองน้ำมันทางเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) ปริมาณ 60 ล้านบาร์เรล โดยเป็นน้ำมันดิบจากสหรัฐฯ 30 ล้านบาร์เรล และส่วนที่เหลือจากยุโรปและญี่ปุ่น