31.7 C
Bangkok
Monday, April 14, 2025
https://www.motorshow.in.th/en/home-en/
https://www.mercedes-benz.co.th/th
https://www.ford.co.th/showroom/all-offers/
Mitsubishi  Xforce HEV
มอเตอร์ไซค์​ honda
Banner BIMS2025
BENZ_SL_900x192px
FORD900x192px_1
Mitsubishi900x192px_1
previous arrow
next arrow

Guardian Glass เผยฉลากข้อมูลสิ่งแวดล้อม (EPD) ผลิตภัณฑ์ในไทยและเอเชียแปซิฟิก

การ์เดียน กลาส หรือ Guardian Glass เผยฉลากข้อมูลสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ หรือ Environmental Product Declarations (EPDs) สำหรับผลิตภัณฑ์กระจกแผ่นเรียบ โดยครอบคลุมกลุ่มผลิตภัณฑ์กระจกโฟลตใส กระจกโฟลตสีตัดแสง กระจกลามิเนต และกระจกเคลือบผิวแบบเปียก (กระจกเงา) ทั้งที่ผลิตในประเทศไทยและที่ผลิตในต่างประเทศ

 โดยฉลาก EPDs ใหม่นี้ ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานภายนอกระดับโลกอย่าง (UL) ในการประเมินผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต เพื่อให้มั่นใจว่ารายงานด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ระบุใน EPDs เป็นไปตามมาตรฐานด้านความยั่งยืนระดับสากล ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้

– กระจกโฟลต Guardian™ Clear

– กระจกโฟลต Guardian™ Light Green

– กระจกโฟลต Guardian™ Solar Management Glass

– กลุ่มผลิตภัณฑ์กระจกลามิเนต Guardian LamiGlass™

– กระจกเงา Guardian UltraMirror™

– กระจกเงา Guardian UltraMirror™ Plus

– กระจกเงา Guardian UltraMirror™ Life

– กระจกรถยนต์ Guardian™ Clear

– กระจกรถยนต์ Guardian™ Light Green

– กระจกรถยนต์ Guardian™ Solar Management Glass ซึ่งกระจกรถยนต์เหล่านี้เป็นไปตามกฎรายการวัสดุสำหรับ

ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ (Automotive Product Category Rules หรือ PCRs) ซึ่งเป็นแนวทางการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชิ้นส่วนยานยนต์และวัสดุที่ใช้ผลิตรถยนต์ อาทิ กระจกสำหรับยานยนต์ ตัวถังรถยนต์ แบตเตอรี่ และระบบพลังงาน อะไหล่และวัสดุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์

ฉลาก EPDs สำหรับกระจกโฟลตที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบภายในเป็นไปตามแนวทางในการประเมินผลิตภัณฑ์ “Cradle-to-Gate (A1-A3)” ที่การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ A1 – Raw Material Supply (การจัดหาวัตถุดิบ) A2 – Transport (การขนส่งวัตถุดิบ) จนถึง A3 – Manufacturing (กระบวนการผลิตเสร็จสิ้นและออกจากโรงงาน) ซึ่งดำเนินการตามมาตรฐาน ISO 21930 และกฎรายการวัสดุสำหรับผลิตภัณฑ์ในแถบอเมริกาเหนือ (North American PCRs) โดยมีค่าคาร์บอนที่มาจากวัสดุก่อสร้าง(Embodied Carbon)อยู่ที่ 9.97 กิโลกรัม CO₂e/ตร.ม. สำหรับกระจกหนา 4 มม.*

สำหรับฉลากข้อมูลสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ของกระจกรถยนต์เป็นไปตามแนวทางในการประเมินผลิตภัณฑ์ “Cradle-to-Gate with Options (A1-A4, C1-C4)” ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการออกจากโรงงาน (A1-A3) การขนส่งไปยังลูกค้า (A4) จากประเทศไทยไปยังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ รวมถึงกระบวนการรื้อถอนและกำจัดผลิตภัณฑ์หลังสิ้นสุดอายุการใช้งาน (C1-C4) โดยพัฒนาให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่งสากล (Automotive & Transport UN PCRs) ที่กำหนดค่าคาร์บอนที่มาจากวัสดุก่อสร้างรวมของกระจกยานยนต์หนา 4 มม. อยู่ที่ 12.3 กิโลกรัม CO₂e/ตร.ม. ซึ่งแบ่งเป็นค่าคาร์บอนที่มาจากวัสดุก่อสร้างจากกระบวนการ A1-A3 ที่ 10.02 กิโลกรัม CO₂e/ตร.ม. และผลกระทบจากการขนส่ง (A4) ไปยังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เท่ากับ 2.16 กิโลกรัม CO₂e/ตร.ม.

นอกจากนี้ Guardian Glass ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ในเครื่องมือ Performance Calculator ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถคำนวณค่าคาร์บอนที่มาจากวัสดุก่อสร้าง(Embodied Carbon) สำหรับการเลือกใช้กระจกในรูปแบบต่าง ๆ โดยเครื่องมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Glass Analytics ที่จะช่วยจำลองคุณสมบัติทางความร้อน การส่องแสงของพื้นผิวกระจก รวมถึงชั้นเคลือบผิวกระจก สำหรับฟีเจอร์ใหม่ของ Performance Calculator สามารถประมาณการค่าคาร์บอนที่มาจากวัสดุก่อสร้างของกระจกในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ กระจกโฟลต (Float Glass) กระจกเคลือบ Sputter-Coated Glass และกระจกลามิเนต (Laminated Glass) ที่ผลิตโดย Guardian Glass ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอินเดีย

Sascha Klengel หัวหน้าฝ่ายขายของ Guardian Glass ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีที่ได้ยกระดับฉลากข้อมูลสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ฉบับใหม่ ที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบแนวทางความยั่งยืนของบริษัทฯ ผ่านการให้ข้อมูลอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับค่าคาร์บอนที่มาจากวัสดุก่อสร้างของผลิตภัณฑ์กระจกของเรา ที่จะช่วยเพิ่มความเข้าใจและช่วยให้พาร์ทเนอร์ของเราเข้าถึงข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เพิ่มการตัดสินใจเลือกใช้กระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลกระทบเชิงบวก (Positive Impact) ต่อสมรรถนะของรถยนต์ การออกแบบเปลือกอาคาร (Facade) และการออกแบบภายใน โดย EPDs ฉบับใหม่ของเราจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมการก่อสร้างและยานยนต์อย่างยิ่ง”

ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ EPDs สามารถค้นหาได้ที่ guardianglass.com/product-declarations และผู้สนใจเครื่องมือจำลองคุณสมบัติของกระจก Glass Analytics และทดลองใช้ฟีเจอร์ Performance Calculator คำนวณค่าคาร์บอนที่มาจากวัสดุก่อสร้างผ่านฟีเจอร์ผ่าน Resource Hub บนเว็บไซต์ของ Guardian Glass ได้ที่ guardianglass.com/resource-hub

Related Articles

Stay Connected

269FansLike
2,760SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles