33 C
Bangkok
Wednesday, December 4, 2024
Mitsubishi
มอเตอร์ไซค์​ honda
AD Banner_900x180
FORD900x192px_1
Honda_900x192px 2024
previous arrow
next arrow

ฮอนด้า ประกาศผลผู้ชนะโครงการ “ฮอนด้า ซูเปอร์ ไอเดีย คอนเทสต์ 2022” รับโล่รางวัลพระราชทานฯ

บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศผลการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศโครงการ “ฮอนด้า ซูเปอร์ ไอเดีย คอนเทสต์ 2022” ครั้งที่ 18 ภายใต้แนวคิด “บรรเลงความคิด สร้างท่วงทำนองความฝัน ขับขานจินตนาการเด็กไทย ให้กังวานไกลไปทั่วโลก” โดยนวัตกรจิ๋วที่ได้รับรางวัลชนะเลิศปีนี้ ได้แก่ น้องคริส ด.ช.ปัณณทัต พันธุ์ศรีเพชร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ กับผลงาน “แว่นตาเปลี่ยนความชัดเลนส์อัตโนมัติ” โดยได้รับโล่รางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนการศึกษา 10,000 บาท รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับเยาวชนชาวญี่ปุ่น และทัศนศึกษาเพื่อเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ ณ ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนมีนาคม 2566 ร่วมกับน้อง ๆ นวัตกรจิ๋วที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอีก 5 รางวัล และครูที่ปรึกษา 2 ท่าน ที่ได้รับรางวัล “ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ”

โครงการ “ฮอนด้า ซูเปอร์ ไอเดีย คอนเทสต์ 2022” เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เยาวชนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ทั่วประเทศ ได้แสดงไอเดียจากความฝันและจินตนาการในการออกแบบสิ่งประดิษฐ์แห่งอนาคตที่สนุก สร้างสรรค์ และมีประโยชน์ต่อสังคม โดยในปีนี้มีเยาวชนส่งผลงานเข้าร่วมโครงการฯ มากถึง 23,958 ผลงาน โดยการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ จัดขึ้น ณ ลาน Semi-outdoor ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ในวันที่ 17 ธันวาคม ที่ผ่านมา โดยมีเยาวชนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่ผ่านเข้ารอบจำนวน 15 คน นำเสนอแบบจำลองสิ่งประดิษฐ์จากจินตนาการและตอบคำถามจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้แก่

ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (FIBO) และที่ปรึกษาพิเศษด้านพัฒนาการศึกษาบุคลากร และเทคโนโลยี โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นายยุทธนา โรจนกมลสันต์ ผู้จัดการและหัวหน้านักออกแบบฝ่าย Automobiles Styling Design บริษัท ฮอนด้า อาร์แอนด์ดี เอเชีย แปซิฟิค จำกัด และแพทย์หญิงนรีกุล เกตุประภากร (ฟรัง) นักแสดงและยูทูบเบอร์ชื่อดัง

โดยรางวัลชนะเลิศในปีนี้ ได้แก่ ผลงาน “แว่นตาเปลี่ยนความชัดเลนส์อัตโนมัติ” จากน้องคริส

ด.ช.ปัณณทัต พันธุ์ศรีเพชร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ และรางวัลรองชนะเลิศ 5 ผลงาน ได้แก่

– ผลงาน “เครื่องต้นไม้ Super Idea” จากน้องหนูดี ด.ญ.ณัฐพร บุญมากาศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่

– ผลงาน “พลังงานจากการเดิน“ จากน้องมิกกี้ ด.ช.แมทธิว มีทิม ชาร์มา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ

– ผลงาน “กล่องอาชีพ” จากน้องใบเตย ด.ญ.กัณฐิกา แก้วกุล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเยาวเรศวิทยา จ.สุราษฎร์ธานี

– ผลงาน “รวงผึ้งเริงรมย์ ช่วยดับไฟในผับ” จากน้องญาญ่า ด.ญ.สรัญญา สุขสมบูรณ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนไมตรีอุทิศ จ.นนทบุรี

– ผลงาน “เครื่องช่วยสื่อสาร” จากน้องต้นน้ำ ด.ญ.นันท์นภัส จตุเทน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทรงวิทยาเทพารักษ์ กรุงเทพฯ

น้องคริส ด.ช.ปัณณทัต พันธุ์ศรีเพชร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เจ้าของรางวัลชนะเลิศในปีนี้ กล่าวว่า “เป็นโครงการฯ ที่สนุกมาก รู้สึกดีใจที่ได้ร่วมโครงการดี ๆ แบบนี้ และภูมิใจที่สิ่งประดิษฐ์ของเราได้รับรางวัลชนะเลิศ โดยไอเดียสิ่งประดิษฐ์นี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากปัญหาที่ตนเองและคนรอบตัวโดยเฉพาะคนที่ต้องใส่แว่นตลอดเวลาพบเจอ หากทุกคนมีแว่นที่สามารถเปลี่ยนความชัดของเลนส์ได้อัตโนมัติ ก็ไม่ต้องเสียเงินและเสียเวลาไปตัดแว่นใหม่บ่อย ๆ อีกต่อไป ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์มากทีเดียว ผมจะตั้งใจเก็บเกี่ยวประสบการณ์และความรู้ ทั้งในด้านวัฒนธรรม และแนวคิดการใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่น จากการไปทัศนศึกษาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เพื่อนำมาพัฒนาตนเองต่อไป และจะพยายามสั่งสมความรู้ต่อไปเรื่อย ๆ โดยหวังว่าสักวันหนึ่ง ตนเองจะสามารถประดิษฐ์ “แว่นตาเปลี่ยนความชัดเลนส์อัตโนมัติ” เพื่อนำไปใช้งานได้จริงในอนาคต”

ดร.ชิต เหล่าวัฒนา คณะกรรมการการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ กล่าวว่า “ตลอด 18 ปีที่ผ่านมาของโครงการฯ น้อง ๆ เยาวชนได้นำความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการมาช่วยแก้ปัญหาที่พบเจอในเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่มีความคิดริเริ่มอยากให้สิ่งประดิษฐ์จากจินตนาการของพวกเขา ได้มีส่วนช่วยในปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ทั่วโลกและใส่ใจในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีที่ต่อไปเด็ก ๆ จะนำเอาความรู้ความสามารถบวกกับเทคโนโลยีในอนาคตมาสรรค์สร้างสิ่งดี ๆ เพื่อโลกของเราอย่างทันต่อเหตุการณ์และใกล้ความจริงมากขึ้น”

แพทย์หญิงนรีกุล เกตุประภากร (ฟรัง) นักแสดงและยูทูบเบอร์ กล่าวว่า “รู้สึกประทับใจกับไอเดียของเด็ก ๆ  ที่พยายามคิดสิ่งประดิษฐ์เพื่อแก้ปัญหาที่ตนเองหรือคนใกล้ตัวพบเจอ ส่วนตัวมองว่าถ้าเรามีวิชาเรียนในโรงเรียน ที่ช่วยสอนให้เด็ก ๆ ได้รู้จักคิด และต่อยอดมาเป็นสิ่งประดิษฐ์แบบโครงการนี้ จะมีประโยชน์ทั้งกับตัวเด็กเองและประเทศชาติ ต้องขอขอบคุณฮอนด้าที่จัดโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นพื้นที่ให้เด็ก ๆ ได้แสดงความคิดและจินตนาการ และอยากให้มีโครงการแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เพราะจะเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะช่วยผลิตเยาวชนคุณภาพออกมาสู่สังคมมากมาย เป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ”

นายยุทธนา โรจนกมลสันต์ ผู้จัดการและหัวหน้านักออกแบบฝ่าย Automobiles Styling Design บริษัท ฮอนด้า อาร์แอนด์ดี เอเชีย แปซิฟิค จำกัด กล่าวว่า “ผลงานของน้อง ๆ ทั้ง 15 ผลงานนับว่าเป็นผลงานที่มีไอเดียและการสร้างสรรค์ที่ยอดเยี่ยม ช่วยยืนยันว่าเด็กไทยก็มีความคิดและไอเดียที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคมไม่แพ้ต่างชาติ ขอให้น้อง ๆ ทั้ง 6 คน ที่เป็นตัวแทนเด็กไทยไปทัศนศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับเพื่อน ๆ ชาวญี่ปุ่น ไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในครั้งนี้ให้เต็มที่และขอให้สนุกกับการใช้จินตนาการต่อไป” 

นอกจากนี้ โครงการฯ ได้มอบรางวัล “ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ” มอบให้กับครูผู้กระตุ้นและผลักดันกระบวนการเรียนรู้ แนวคิด รวมทั้งส่งเสริมจินตนาการให้กับเยาวชนของโครงการฯ จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ คุณครูนรชัย พิทักษ์พรชัย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพฯ และคุณครูวัฒนสิทธิ์ ชุนโอภาศ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ซึ่งจะได้ร่วมเดินทางกับนวัตกรจิ๋วทั้ง 6 คน เพื่อไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์กับเยาวชนชาวญี่ปุ่น ณ ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนมีนาคม 2566

Related Articles

Stay Connected

269FansLike
2,760SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles