ตลาดรถยนต์เมืองไทยเดือนพฤศจิกายน 2656 ไม่ตื่นตัว ผู้บริโภครอเวลาช้อปลุ้นรับแคมเปญโค้งสุดท้ายในงาน Motor Expo 2022 ส่งผลตัวเลขการยอดขาย 68,284 คัน ลดลง 4.8% ขณะที่ยอดขายสะสม 11 เดือนของปี 2565 ทำได้แล้ว 766,589 คัน เติบโตเพิ่มขึ้น 14.7% คาดยอดขายส่งท้ายปีเดือนธันวาคม เติบโตตามฤดูจับจ่ายไฮซีซั่น
นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 ด้วยยอดขายรวมทั้งสิ้น 68,284 คัน ลดลง 4.8% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 20,263 คัน ลดลง 14.8% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 48,021 คัน เพิ่มขึ้น 0.2% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 36,286คัน ลดลง 5.9% พร้อมยอดขายสะสม 11 เดือนที่ 766,589 คัน เติบโต 14.7% เดินหน้าสู่การปิดตัวเลขการขายประจำปีในเดือนธันวาคม
นายสุรศักดิ์ เปิดเผยถึงความเคลื่อนไหวของตลาดรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายนว่า “ตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายนชลอตัวเล็กน้อยด้วยตัวเลขการขาย 68,284 คัน ลดลง 4.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีตัวเลขการขาย 20,263 คัน ลดลงเช่นกันที่ 14.8% ขณะที่ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีตัวเลขการขาย 48,021 คัน เติบโตเล็กน้อยที่ 0.2% เป็นผลมาจากการที่ลูกค้าชลอการตัดสินใจซื้อเพื่อรอรับแคมเปญสุดท้ายในงาน มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 39 ระหว่างวันที่ 1-12 ธันวาคม ซึ่งเป็นโค้งสุดท้ายก่อนปิดตัวเลขการขายประจำปีในเดือนธันวาคม ที่ลูกค้าต่างคาดหวังรับข้อเสนอดีที่สุดแห่งปีในงานนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งภาคกลางและจังหวัดใกล้เคียง
นายสุรศักดิ์ ประเมินแนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือนธันวาคมว่า “จากความเคลื่อนไหวในตลาดรถยนต์ดังกล่าว จะส่งผลให้ตัวเลขการขายรถยนต์ของเดือนธันวาคมเติบโตสูงที่สุดในรอบปี โดยมียอดจองในงาน มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 39 ที่มากถึง 36,679 คัน จากการรายงานของผู้จัดงานเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ยังไม่รวมตัวเลขการขายจากผู้แทนจำหน่ายของทุกค่ายรถยนต์ทั่วประเทศ ซึ่งจะมาเติมสถิติการขาย 11 เดือนที่ 766,589 คัน เติบโต 14.7% ก่อนจะปิดตัวเลขการขายประจำปี 2565 ในเดือนธันวาคม น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤศจิกายน 2565
1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 68,284 คัน ลดลง 4.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 24,554 คัน เพิ่มขึ้น 6.0% ส่วนแบ่งตลาด 36.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 16,561 คัน ลดลง 10.1% ส่วนแบ่งตลาด 24.3%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,328 คัน ลดลง 15.0% ส่วนแบ่งตลาด 10.7%
2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 20,263 คัน ลดลง 14.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,405 คัน เพิ่มขึ้น 33.3% ส่วนแบ่งตลาด 41.5%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 4,438 คัน ลดลง 45.0% ส่วนแบ่งตลาด 21.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,489 คัน ลดลง 16.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.3%
3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 48,021 คัน เพิ่มขึ้น 0.2%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 16,561 คัน ลดลง 10.1% ส่วนแบ่งตลาด 34.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 16,149 คัน ลดลง 4.2% ส่วนแบ่งตลาด 33.6%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,805 คัน เพิ่มขึ้น 68.1% ส่วนแบ่งตลาด 10.0%
4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 36,286 คัน ลดลง 5.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 15,382 คัน ลดลง 9.3% ส่วนแบ่งตลาด 42.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 13,635 คัน ลดลง 8.4% ส่วนแบ่งตลาด 37.6%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,805 คัน เพิ่มขึ้น 68.1% ส่วนแบ่งตลาด 13.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 7,104 คัน
อีซูซุ 2,610 คัน – โตโยต้า 2,465 คัน – ฟอร์ด 1,380 คัน – มิตซูบิชิ 588 คัน – นิสสัน 61 คัน
5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 29,182 คัน ลดลง 11.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 12,772 คัน ลดลง 16.1% ส่วนแบ่งตลาด 43.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 11,170 คัน ลดลง 11.0% ส่วนแบ่งตลาด 38.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,425 คัน เพิ่มขึ้น 44.1% ส่วนแบ่งตลาด 11.7%