สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 15-19 พ.ค. 66 และแนวโน้มสัปดาห์ที่ 22-26 พ.ค.66 โดยตลาดน้ำมันสำเร็จรูปเบรนท์ (ICE Brent) ราคา 75.71 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับลดลง -0.29 ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปของ เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ราคา 71.64 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับลดลง -0.43 เหรียฐสหรัฐฯ ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปดูไบ (Dubai) ราคา 74.27 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับลดลง -1.21 เหรียญ สหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปซื้อซื้อขายล่วงหน้าที่สิงคโปร์ ราคาเบนซินออกเทน 95 ปรับราคาเพิ่มขึ้น +1.07เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 89.82 เหรียญ สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดีเซลราคาปรับราคาเพิ่มขึ้น +0.59 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 86.69 เหรียญสหรัฐฯ

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ในสัปดาห์ที่ผ่านมาลดลง 0.29 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 75.71 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากนักลงทุนกังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจถดถอยและถูกลดความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) หากการเจรจาขยายเพดานหนี้ (Debt Ceiling ที่ปัจจุบันอยู่ที่ 31.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ) ระหว่างพรรค Democrat และพรรค Republican ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงซึ่งจะส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐฯ ผิดนัดชำระหนี้ หลัง 1 มิ.ย. 66

อย่างไรก็ดี การเจรจาระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ Joe Biden (พรรค Democrat) และประธานสภาผู้แทนราษฎร Kevin McCarthy (พรรค Republican) มีความคืบหน้า และทั้ง 2 ฝ่ายใกล้จะบรรลุข้อตกลงในการปรับเพิ่มเพดานหนี้ โดยมีนัดหารือกันอีกในวันที่ 22 พ.ค. 6
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
– กระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ ประกาศเข้าซื้อน้ำมันดิบเพื่อเติมคลังสำรองปิโตรเลียมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) ปริมาณ 3 ล้านบาร์เรล ส่งมอบภายในเดือน ส.ค. 66 หลังระบายน้ำมันจาก SPR ปริมาณ 180 ล้านบาร์เรล ในปี 2565 เพื่อบรรเทาสภาวะน้ำมันตึงตัว หลังผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน
– รายงานฉบับเดือน พ.ค. 66 ของ International Energy Administration (IEA) คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปี 2566 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.21 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 102.01 ล้านบาร์เรลต่อวัน (เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ครั้งก่อน 70,000 บาร์เรลต่อวัน)
– สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (National Bureau of Statistics) รายงานโรงกลั่นนำน้ำมันดิบเข้ากลั่น (Refinery Throughput) ในเดือน เม.ย. 66 เพิ่มขึ้น 18.9% จากปีก่อน อยู่ที่ 14.87 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อเตรียมรองรับอุปสงค์ในประเทศที่คาดว่าจะฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวในช่วงฤดูร้อน
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
– ผู้บริหารของบริษัทและสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ 150 ราย อาทิ Goldman Sachs และ JP Morgan ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย Joe Biden และประธานรัฐสภา เตือนว่าหากการเจรจาเพดานหนี้ไม่ได้ข้อสรุปทันเวลา สหรัฐฯ จะผิดนัดชำระหนี้ ส่งผลให้สถานะของสหรัฐฯ ในระบบการเงินโลกอ่อนแอลง กระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือ เป็นการส่งคำเตือนที่หนักแน่นที่สุดจากภาคธุรกิจในรอบหลายปีที่ผ่านมา บ่งชี้ความสำคัญของการเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐฯ
– Energy Information Administration (EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ที่สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 พ.ค. 66 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 5.0 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 467.6 ล้านบาร์เรล
ทั้งนี้ ให้จับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) วันที่ 13-14 มิ.ย. 66 ล่าสุด ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) Jerome Powell กล่าวว่า FOMC อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้อีก 0.25% จากระดับปัจจุบันที่ 5.0-5.25% หากอัตราเงินเฟ้อยังสูงกว่าเป้าหมายที่ 2% สัปดาห์นี้คาดการณ์ราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวในกรอบ 70-80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล