จังหวัดราชบุรี ร่วมกับหน่อยงานภาครัฐและเอกชน ต่อยอดอัตลักษณ์ลายผ้าประจำจังหวัดราชบุรี ในกิจกรรม “ราชบุรี มีลาย” ราชาบุรี (กาบโอ่งนกคู่)” มุ่งมั่นสืบสานและอนุรักษ์มรดกแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ชูความเป็นเอกลักษณ์ของเมืองราชบุรีให้ยั่งยืน
นายปิยพงศ์ ชูวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ร่วมเปิดงานกิจกรรมพัฒนาต่อยอดอัตลักษณ์ลายผ้าประจำจังหวัดราชบุรี ในกิจกรรม “ราชบุรี มีลาย” ราชาบุรี (กาบโอ่งนกคู่)” โดยมี ดร.นภสร โศรกศรี วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี และนายธนกร สดใส 1 ในผู้ออกแบบลายผ้า “ราชาบุรี” (กาบโอ่งนกคู่) และคณะทำงานโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ชุมชน ด้านฐานธรรมชาติ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ระหว่าง 16 – 17 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี เพื่อต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์ลายผ้าประจำจังหวัดราชบุรี ที่ชาวราชบุรีภาคภูมิใจ
นายปิยพงศ์ รองผู้ว่า ฯ กล่าวว่า เราทุกคนมารวมตัวเพื่อจัดงานนี้ อยากบอกว่าราชบุรีมีของดีมากมายที่คนทั้งประเทศอาจจะรู้จักบ้างไม่รู้จักบ้าง ราชบุรียังเป็นเมืองตลาดน้ำแล้ว สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และเป็นเมืองแห่ง มะพร้าวน้ำหอมได้ส่งออกมะพร้าวน้ำหอมไปต่างประเทศ หลายพันล้านต่อปี สร้างรายได้ สูงสุดถึงอันดับที่ 17 ของ ประเทศ จากการส่งออกด้านการเกษตร ใน ส่วนของการนำผ้าลาย”ราชาบุรี” (กาบโอ่งนกคู่) มาโชว์ในวันนี้ ลายผ้าที่เชื่อมโยงจาก ธรรมชาติทั้งหมด เช่น สีที่ทำการย้อมผ้า วิธีการออกแบบนำเสนอลวดลายต่าง ๆ ถือเป็นความภาคภูมิใจ และเชื่อว่า เป็นการบอกกล่าวให้ทุกคนทำความรู้จักกับผ้าของราชบุรีมากยิ่งขึ้น ในส่วนของการออกแบบลายผ้า “ราชาบุรี” (กาบโอ่งนกคู่)
นายธนกร สดใส กล่าวว่า…ในฐานะผู้ออกแบบ ลาย อยากบอกความเป็นโอ่งมังกรผ่านลายผ้า ถ้านึกถึงราชบุรีต้องนึก ถึงโอ่งมังกร มันคือพลังที่มีอยู่ในตัวอยู่แล้วแต่จับต้องไม่ได้ ให้มารวมอยู่ในลายผ้า ราชาบุรี (กาบโอ่งนกคู่) กับ 3 คอลเลคชั่นเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ผมใช้คำว่าตะโกน มันคือซอฟพาวเวอร์ ที่อยากบอกทุกคน ผ่านลายผ้าราชาบุรี (กาบโอ่งนกคู่) ใครที่ได้เห็นจะต้องนึกถึงโอ่งมังกร ให้อยู่ทุก ๆ มิติ มาอยู่ในลายผ้า ในจานอาหาร ในทุกมิติ ของเทศกาลจังหวัดราชบุรี ด้วยการทำงานกับทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนในกิจกรรมนี้เพื่อต่อยอดสร้างมูลค่า
ดร.นภสร โศรกศรี ได้เปิดเผยว่า สืบเนื่องมาจากปี 2565 ทางกระทรวงวัฒนธรรมได้มีนโยบาย ค้นหาลายอัตลักษณ์ผ้าไทยในทุก ๆ จังหวัด ในปีนั้นเราได้มีการสำรวจ ซึ่ง จ.ราชบุรี มีถึง 8 ชาติพันธุ์ ถ้าลายผ้าประจำจังหวัดราชบุรี ควรจะเป็นลายไหนที่เป็นอัตลักษณ์ที่ส่งเสริมจังหวัด จึงเป็นที่มาในการค้นหา และตั้งทีมคณะทำงานในหลาย
ภาคส่วน ด้วยลายผ้าทอไทยยวนในจังหวัดราชบุรี เป็นที่รู้จักของชาวราชบุรีอยู่แล้ว แล้วเราก็เติมอัตลักษณ์ของโอ่งมังกรเข้าไปในลายผ้า เพื่อให้จับต้องได้ ในการนำไปประยุกต์ใช้ ในเรื่องของการพิมพ์ลายเราได้ปรับเปลี่ยนขั้นตอนการผลิตเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่าย ราคาที่จับต้องได้เป็นการต่อยอดให้ลายผ้า ราชาบุรี (กาบโอ่งนกคู่) ได้เกิดขึ้นจริงนำไปต่อยอด ทำอย่างไร ? ให้คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสสวมใส่ และมีความร่วมสมัยเป็นการเพิ่มมูลค่าในตัวผลิตภัณฑ์ และชูความเป็นเอกลักษณ์ของเมืองราชบุรีให้ยั่งยืน
เป็นที่น่าเสียดาย ในการจัดงานครั้งนี้ มีเพียงแค่สองวัน แต่เป็นก้าวเริ่มต้นที่ดี อยากให้คนไทยทุกคนได้รู้จักลายผ้าราชาบุรี (กาบโอ่งนกคู่) ที่สะท้อนความเป็นเมืองราชบุรีว่าเราไม่ได้มีดีแค่โอ่ง รองผู้ว่า ฯ กล่าวทิ้งท้าย…
“ราชบุรี” เมืองที่เต็มไปด้วยเรื่องราว ศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า หนึ่งเดียวในโลก ผ้าทอลาย “ราชาบุรี” (กาบโอ่งนกคู่) ภูมิปัญญาท้องถิ่นแห่งชาติพันธุ์ ร่วมกันส่งเสริมต่อยอดและอนุรักษ์รักษาไว้สืบไป