26.9 C
Bangkok
Friday, December 13, 2024
Mitsubishi
มอเตอร์ไซค์​ honda
AD Banner_900x180
FORD900x192px_1
Honda_900x192px 2024
previous arrow
next arrow

เส้นทางสู่ “เน็ต ซีโร่” ของอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ

อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ หรือ เฮลธ์แคร์ คือหนึ่งในภาคส่วนที่มีการใช้พลังงานมากที่สุด คิดเป็น 7% ของการปล่อยคาร์บอนทั้งหมด ซึ่งโรงพยาบาลมีการใช้พลังงานและน้ำในปริมาณมาก อีกทั้งยังสร้างของเสียจำนวนมากเช่นกัน สอดคล้องกับการศึกษาจาก Healthcare Without Harm ที่ชี้ว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเฮลธ์แคร์ เทียบเท่าอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิทั่วโลกที่ 4.4% โดยสหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป คิดเป็น 56% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ทั้งหมดทั่วโลก

โดย แดเนียล การ์เซียร์ กิล ดูแลด้านสถาปัตยกรรม IoT โซลูชั่น ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าวให้รายละเอียดต่อไปว่า องค์การอนามัยโลก ประเมินว่าค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและการใช้พลังงานตามสถานพยาบาลต่างๆ มีแต่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ภายในห้าปีข้างหน้า เมื่อพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของโรงพยาบาลพบว่า 25% เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน ฉะนั้นการลดพลังงานจึงช่วยสร้างประสิทธิภาพด้านการเงินที่ดีขึ้นได้ทันที

สิ่งสำคัญสำหรับองค์กรด้านการดูแลสุขภาพ คือการพัฒนาและนำกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนมาใช้ นอกจากจะช่วยให้บรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงปารีสแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานได้ นอกเหนือจากคำมั่นสัญญาเหล่านี้ องค์กรทางคลินิกบางแห่งอย่าง Doctors for the Environment Australia ยังสนับสนุนความมุ่งมั่นเหล่านี้อย่างจัง อีกทั้งเรียกร้องให้หลายองค์กรออกมาแสดงความมุ่งมั่นเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ให้ได้ภายในปี 2040 โดยมีเป้าหมายตามระยะเวลาที่กำหนด คือการลดคาร์บอนให้ได้ 80% ภายในปี 2030

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตของความยั่งยืน

Greenhouse Gas Protocol ซึ่งเป็นมาตรฐานการทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกสำหรับทั้งภาครัฐและเอกชน ได้นิยามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน 3 ขอบเขต (Scope) ด้วยกัน โดยอิงจากความเป็นเจ้าของและระดับของการควบคุมการปล่อยก๊าซ

สำหรับอุตสาหกรรมภาคการดูแลสุขภาพ สอดคล้องตาม Healthcare Without Harm การกระจายการปล่อยก๊าซคาร์บอนในขอบเขตความยั่งยืนทั้งหมดได้แก่

Scope 1 คือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเผาไหม้ฟอสซิลโดยตรง (เช่นก๊าซธรรมชาติหรือเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะตัวเอง) คิดเป็น 17% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเฮลธ์แคร์ทั่วโลก

Scope 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากแหล่งพลังงานที่ซื้อมา (ไฟฟ้า ระบบทำความร้อนและทำความเย็นส่วนกลาง ไอน้ำ และ ฯลฯ) คิดเป็นอีก 12% ขึ้นอยู่กับการสร้างไฟฟ้าจากกริด

Scope 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากซัพพลายเชนในภาคอุตสาหกรรมดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนที่มีนัยสำคัญที่สุดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดอยู่ที่ 71% ซึ่งการปล่อยก๊าซใน Scope 3 ยังเป็นส่วนที่ติดตาม ตรวจสอบและกำจัดได้ยากที่สุด เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับ scope ย่อยต่างๆ เช่นการเดินทางเพื่อธุรกิจ การขนส่งพนักงานและผู้เยี่ยมชม รวมถึงการปล่อยก๊าซจากการลงทุน ซื้อหรือเช่าอุปกรณ์ต่างๆ

องค์กรภาคอุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ทั้งหมด กำลังพัฒนาและนำแผนงานมาใช้ในการบริหารจัดการและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดใน 3 scope ที่ว่า โดยกลยุทธ์เหล่านี้ประกอบด้วยการดำเนินงานโดยตรงในส่วนของกิจกรรมที่ช่วยสร้างประสิทธิภาพด้านพลังงานในระยะสั้น ถึงระยะกลาง ตลอดจนระยะยาว เช่นการจัดการวงจรของสินทรัพย์ แผนการลงทุนเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และแผนจัดซื้อพลังงาน

บรรลุ “เน็ต ซีโร่” ด้วยการบริหารจัดการพลังงานเชิงรุก

กลยุทธ์การบริหารจัดการพลังงานในเชิงรุก ให้แนวทางในการรับมือกับความท้าทายในการบริหารจัดการพลังงาน และเป็นหัวใจหลักของเส้นทางสู่ความยั่งยืนในองค์กร การบริหารจัดการพลังงานในเชิงรุก คือแนวทางที่ใช้นวัตกรรมสร้างความยั่งยืนโดยเน้นถึงความจำเป็นด้านการดำเนินการและการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง และประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักด้วยกัน

การจัดซื้อและจัดหา ได้แก่องค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพด้านภาษี การพัฒนางบประมาณ และการคาดการณ์เกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ โดยการดำเนินงานด้านเฮลธ์แคร์ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยมุ่งเน้นเพื่อให้บรรลุความยืดหยุ่นด้านโครงสร้างพื้นฐานและประสิทธิภาพด้านการดำเนินงาน

ประสิทธิภาพและการวิเคราะห์ ได้แก่การดำเนินงานหลักที่เกี่ยวกับการประเมินการใช้พลังงาน การวัดปริมาณและการวิเคราะห์พลังงาน การผสานรวมระบบควบคุมและระบบอัตโนมัติ รวมถึงการให้การรับรองด้านประสิทธิภาพพลังงาน ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติมากขึ้นที่สถานพยาบาลทั่วไปต่างมองหาแนวทางเพื่อให้ได้รับการรับรองด้านประสิทธิภาพผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น Green Star และ NABERS สำหรับโรงพยาบาล นอกจากนี้ ยังมีการนำระบบวิเคราะห์ข้อมูล และ AI มาใช้ในการระบุเพื่อดูว่าการดำเนินงานส่วนใดที่ยังไม่ได้ประสิทธิภาพเพียงพอ รวมถึงใช้ออกแบบกลยุทธ์ด้านระบบอัตโนมัติ เพื่อให้ระบบโครงสร้างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ความยั่งยืน ยังรวมถึงกิจกรรมหลักอื่นๆ อย่าง การออกรายงานเกี่ยวกับคาร์บอน การใช้เทคโนโลยีสะอาด การติดตั้งแหล่งพลังงานหมุนเวียน แหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ (DER) และการบริหารจัดการทรัพยากรจากแหล่งที่มาทั้งหมด เช่น พลังงาน น้ำ หรือวัสดุก่อสร้าง ซึ่งองค์กรภาคการดูแลสุขภาพมีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการสร้างแหล่งพลังงานหมุนเวียน และแนวทางในด้านไมโครกริด เพื่อช่วยลดคาร์บอนและสนับสนุนการใช้ไฟฟ้าในระบบโครงสร้าง โดยส่วนอื่นๆ ที่ต้องมุ่งเน้นคือการติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกครอบคลุมทั้ง 3 scope เริ่มจากการวิเคราะห์การใช้พลังงานโดยตรง ตามด้วยการวิเคราะห์ผลกระทบด้านความยั่งยืนของซัพพลายเชนอย่างละเอียด

การบริหารจัดการพลังงานเชิงรุก ไม่ใช่กระบวนการที่ทำครั้งเดียวจบ แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำตลอดและต้องอาศัยความมีส่วนร่วมและการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง องค์กรด้านเฮลธ์แคร์สามารถส่งเสริมเรื่องความยั่งยืนได้ด้วยการปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการพลังงานในองค์กรให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องได้เช่นกัน

ในฐานะผู้นำที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในเรื่องการสร้างความยั่งยืน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จึงอยู่ในตำแหน่งที่ดีในการช่วยให้องค์กรด้านการดูแลสุขภาพ บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน ด้วยแพลตฟอร์ม EcoStruxure™ และการบริการจาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผ่านการทำงานร่วมกับพันธมิตร ทั้งการประสานงานและการให้บริการด้านคำปรึกษา ซึ่งสามารถออกแบบกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการพลังงานในเชิงรุกได้อย่างเหมาะสม เพื่อแก้ปัญหาด้วยการลดการปล่อยคาร์บอนในองค์กรเฮลธ์แคร์ ครอบคลุมทั้ง 3 ขอบเขตเพื่อความยั่งยืน

Related Articles

Stay Connected

269FansLike
2,760SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles