25.9 C
Bangkok
Wednesday, November 6, 2024
https://www.thaihonda.co.th/honda/
https://www.thaihonda.co.th/honda/
https://www.thaihonda.co.th/honda/
https://www.thaihonda.co.th/honda/
previous arrow
next arrow

ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับขึ้นจากตลาดน้ำมันตึงตัว

ปตท. เผยผลการวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 4-8 ต.ค. 64 และแนวโน้ม 11-15 ต.ค. 64 โดยตลาดน้ำมันสำเร็จรูปเบรนท์ (ICE Brent) ราคา 81.85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +2.88 ตลาดน้ำมันสำเร็จรูป เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ราคา 78.33 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +3.03 เหรียฐสหรัฐฯ ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปดูไบ (Dubai) ราคา 79.16 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +3.02 เหรียญ สหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปซื้อซื้อขายล่วงหน้าประเทศสิงคโปร์ ราคาเบนซินออกเทน 95 ปรับราคาเพิ่มขึ้น +4.16เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 92.33 เหรียญ สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดีเซลราคาปรับราคาเพิ่มขึ้น +4.3 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 92.87 เหรียญสหรัฐฯ

ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลก เฉลี่ยรายสัปดาห์เพิ่มขึ้น 3 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยสัปดาห์ก่อน ราคา ICE Brent ทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 ปี และ NYMEX WTI สูงสุดในรอบ 7 ปี ซึ่งราคาน้ำมันทั้ง 2  ชนิด เคลื่อนไหวเหนือระดับ 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ทะยานขึ้นจากช่วงต้นปีที่ประมาณ 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนจากการตัดสินใจของ OPEC และพันธมิตร (OPEC+) ซึ่งยืนยันเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ เดือนละ 4 แสนบาร์เรลต่อวัน ในช่วงเดือน ส.ค.-ธ.ค. 64 ตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ ท่ามกลางการเรียกร้องจากประเทศผู้นำเข้าให้เพิ่มปริมาณการผลิตมากกว่านี้ เพื่อคลายภาวะตลาดน้ำมันตึงตัว ดังที่กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ประมาณการณ์ว่าในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ ปริมาณการผลิตจะต่ำกว่าปริมาณการใช้อยู่ 1.7 แสนบาร์เรลต่อวัน หาก OPEC และพันธมิตรไม่มีการปรับเปลี่ยนข้อตกลงเดิม

ราคาน้ำมันย้อนหลัง 15 วัน (ราคา ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2564)

ด้านเทคนิค สัปดาห์นี้ราคา ICE Brent มีแนวโน้มจะอยู่ในกรอบ 79-85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และมีโอกาสที่ ICE Brent จะขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญ คือ 85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

ราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้ประเมินว่าโรงไฟฟ้าจะหันมาใช้น้ำมันแทนก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้า อาทิ FGE คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้น้ำมันจากโรงไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น 5 แสนบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ Bank of America คาดเพิ่มขึ้น 1-2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นต้น

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

ราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากปัจจัยการเคลื่อนย้ายเงินทุน (Funds Flow) ซึ่งดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ เคลื่อนไหวบริเวณระดับ 94 จุด สูงสุดในรอบปี

Related Articles

Stay Connected

269FansLike
2,760SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles