27.1 C
Bangkok
Thursday, December 12, 2024
Mitsubishi
มอเตอร์ไซค์​ honda
AD Banner_900x180
FORD900x192px_1
Honda_900x192px 2024
previous arrow
next arrow

ราคาน้ำมันปรับลดตามภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

ปตท. เผยผลวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 30 ม.ค.-3 ก.พ. 66 และแนวโน้ม 6-10 ก.พ. 66 โดยตลาดน้ำมันสำเร็จรูปเบรนท์ (ICE Brent) ราคา 83.06 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับลดลง -3.85 ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปของ เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ราคา 76.49 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับลดลง -4.03 เหรียฐสหรัฐฯ ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปดูไบ (Dubai) ราคา 81.53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับลดลง -2.08 เหรียญ สหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปซื้อซื้อขายล่วงหน้าที่สิงคโปร์ ราคาเบนซินออกเทน 95 ปรับราคาลดลง -6.64 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 100.66 เหรียญ สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดีเซลราคาปรับราคาลดลง -7.77 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 114.57 เหรียญสหรัฐฯ

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยรายสัปดาห์ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 เดือน จากธนาคารกลางหลักทั่วโลกทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายพร้อมกันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75%, ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% สู่ระดับ 4.0% และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำรองของธนาคารพาณิชย์ (Deposit Facility Rate) และอัตราดอกเบี้ยสำหรับปล่อยสภาพคล่องให้แก่ธนาคารพาณิชย์ (Main Refinancing Operations Rate) มาอยู่ที่ 2.5% และ 3.0% ตามลำดับ

นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานยอดจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payroll) ในเดือน ม.ค. 66 เพิ่มขึ้น517,000 ราย จากเดือนก่อนหน้า สูงกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 187,000 ราย จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราว่างงาน (Unemployment Rate) อยู่ที่ 3.4% ต่ำสุดในรอบ 54 ปี อาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง กดดันให้เศรษฐกิจชะลอตัว

อย่างไรก็ดี Jerome Powell ประธาน Fed คาดว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2-3 ครั้ง เพื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถลดอัตราเงินเฟ้อสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% (อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน ธ.ค. 65 อยู่ที่ 6.5%)

โดยทางเทคนิค สัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 80-85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

* Caixin/Markit รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคบริการ (Composite Purchasing Manager Index: PMI) ของ

จีน ในเดือน ม.ค. 66 เพิ่มขึ้น 2.8 จุด จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 51.1 จุด ขยายตัวครั้งแรกตั้งแต่เดือน ส.ค. 65 โดยได้แรงหนุนจากการยกเลิกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19

* 1 ก.พ. 66 ที่ประชุม Joint Ministerial Monitoring Committee (JMMC) ของกลุ่ม OPEC และพันธมิตร (OPEC+) คงนโยบาย

ลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบตามผลการประชุมเมื่อ 5 ต.ค. 65 ที่ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นปี 2566 ทั้งนี้ จะมีการประชุมครั้งถัดไปวันที่ 3 เม.ย. 2566

* Bloomberg รายงานกลุ่ม OPEC ผลิตน้ำมันดิบในเดือน ม.ค. 66 ลดลง 6 หมื่นบาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 29.12

ล้านบาร์เรลต่อวัน

* Ministry of Economy, Trade and Industry (METI) รายงานญี่ปุ่นนำเข้าน้ำมันดิบ ในปี 2565 เพิ่มขึ้น 9.7% จากปีก่อนหน้า อยู่ที่

2.73 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 ปี จากอุปสงค์พลังงานฟื้นตัวต่อเนื่อง

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

* ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับตะกร้าเงินสกุลหลักของโลกปิดตลาด 3 ก.พ. 66 เพิ่มขึ้น 1.17 จุด อยู่ที่ 102.92 จุด เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

วันที่ 2 และสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์

* Bloomberg รายงานรัสเซียส่งออกน้ำมันดิบ 21-27 ม.ค. 66 เพิ่มขึ้น 4.8 แสนบาร์เรลต่อวัน จากสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 3.6 ล้าน

บาร์เรลต่อวัน โดยส่งออกสู่เอเชียอยู่ที่ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และไม่ระบุสถานที่ส่งมอบ (Unknown) อยู่ที่ 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน

Related Articles

Stay Connected

269FansLike
2,760SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles