ปตท. เผยผลการวิเคร์สถานการณ์ตลาดน้ำมันประจำสัปดาห์วันที่ 29 ม.ค. – 2 ก.พ. 67 และแนวโน้มสัปดาห์วันที่ 5 – 9 ก.พ. 67 โดยตลาดน้ำมันสำเร็จรูปเบรนท์ (ICE Brent) ราคา 80.37 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาลดลง -0.76 ตลาดน้ำมันสำเร็จรูป เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ราคา 75.31 เหรียญต่อบาร์เรล ปรับราคาลดลง -0.61 เหรียญ สหรัฐฯ ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปดูไบ (Dubai) ราคา 81.37 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +1.54 เหรียญ สหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปซื้อซื้อขายล่วงหน้าประเทศสิงคโปร์ ราคาเบนซินออกเทน 95 ปรับราคาเพิ่มขึ้น +0.59 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 101.33 เหรียญ สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดีเซลราคาปรับราคาเพิ่มขึ้น +3.23 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 107.61 เหรียญสหรัฐฯ
ราคาน้ำมันถูกกดดัน หลังอุปทานน้ำมันในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัว
* กรมทรัพยากรธรณีของรัฐ North Dakota ในสหรัฐฯ รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในรัฐ North Dakota วันที่ 30 ม.ค. 67 เพิ่มขึ้น 650,000 บาร์เรลต่อวันจากสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 1.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 95% ของปริมาณการผลิตในระดับปกติ เนื่องจากอุณหภูมิในสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้แหล่งผลิตน้ำมันดิบกลับมาดำเนินการตามปกติ หลังเผชิญภาวะอากาศหนาวเย็นเฉียบพลัน (Cold Snap) กระทั่งปริมาณการผลิตชะลอตัวตั้งแต่กลางเดือน ม.ค. 67
* บริษัท ExxonMobil ในกายาน่า รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในแหล่งผลิต Payara ในเดือน ม.ค. 67 เพิ่มขึ้น 173,000 บาร์เรลต่อวันจากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 220,000 บาร์เรลต่อวัน เต็มกำลังการผลิตภายในเวลาเพียง 2 เดือน หลังเริ่มเปิดดำเนินการในเดือน พ.ย. 66
* สำนักสถิติแห่งชาติของจีน (National Bureau of Statistics: NBS) รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing Purchasing Managers’ Index: PMI) ในเดือน ม.ค. 67 เพิ่มขึ้น 0.2 จุดจากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 49.2 จุด ต่ำกว่า 50 จุดเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ทั้งนี้ ดัชนีต่ำกว่า 50 จุด บ่งชี้ภาวะหดตัว
* 1 ก.พ. 67 การประชุม Joint Ministerial Monitoring Committee (JMMC) ของกลุ่ม OPEC+ มีมติคงโควตาลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบที่ 3.66 ล้านบาร์เรลต่อวันถึงเดือน ธ.ค. 67 อนึ่ง การประชุมครั้งต่อไป 3 เม.ย. 67 ขณะที่แหล่งข่าวรายงานว่า OPEC+ อาจตัดสินใจลดการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจ (Voluntary Cut) ลงอีก ปัจจุบันอยู่ที่ 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน มี.ค. 67 โดยประเทศผู้อาสาลดการผลิตโดยสมัครใจ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย, รัสเซีย, อิรัก, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, คูเวต, คาซัคสถาน, แอลจีเรียและโอมาน
* 3 ก.พ. 67 เกิดไฟป่าบริเวณเมือง Valparaíso และ Marga Marga ในภาคกลางของชิลี ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 50 ราย และมีแนวโน้มลุกลาม กระทบต่อที่พักอาศัยกว่า 1 พันหลังคาเรือน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ โดย รมว.มหาดไทยของชิลี Carolina Tohá เผยว่าสถานการณ์ไฟป่าในครั้งนี้ถือเป็นภัยพิบัติที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เหตุแผ่นดินไหวในปี 2553 นอกจากนี้ โรงกลั่น Aconcagua (กำลังการกลั่น 102,000 บาร์เรลต่อวัน) ในชิลีต้องปิดดำเนินการชั่วคราว เนื่องจากไฟฟ้าดับ