ภาพรวมตลาดรถยนต์เมืองไทยประเดือนเมษายน 2566 เปิดไตรมาส 2 ยังชะลอตัว ยอดขายรวม 59,530 คัน ลดลง 6.1% โดยเฉพาะตลาดรถปิกอัพหดตัวถึง 20.3% เป็นผลมาจากการชะลอการตัดสินใจซื้อของภาคธุรกิจ และภาคประชาชนในช่วงก่อนการเลือกตั้ง คาดตลาดเดือนพฤษภาคม 2566 ยังชะลอตัวต่อเนื่องจากความผันผวนเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงเลือกตั้ง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการชะลอการตัดสินใจซื้อ และทุกภาคส่วนรอความชัดเจนของนโยบายเศรษฐกิจรัฐบาลใหม่
นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนเมษายน 2566 ชะลอตัวด้วยยอดขาย 59,530 คัน ลดลง 6.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 20,203 คัน ลดลง 1.4% ขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 39,327 คัน ลดลง 8.4% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้จำนวน 26,818 คัน ลดลงถึง 20.3%
ตลาดรถยนต์เดือนเมษายน 2566 ชะลอตัวทุกเซ็กเมนท์ด้วยยอดขาย 59,530 คัน ลดลง 6.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่รถยนต์นั่งชะลอตัวเล็กน้อยที่ 1.4% ด้วยยอดขาย 20,203 คัน ส่วนทางด้านรถเพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวเช่นกันที่ 8.4% ด้วยยอดขาย 39,327 คัน ประเด็นหลักที่ทำให้ตลาดรถยนต์ในเดือนนี้ชะลอตัวอยู่ที่ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ซึ่งลดลงถึง 20.3% เป็นผลมาจากการชะลอการตัดสินใจซื้อของภาคธุรกิจ และภาคประชาชนในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ประกอบกับการเติบโตของเศรษฐกิจหลังฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด ที่มียอดสั่งซื้อรถยนต์ทุกประเภทเข้ามาเป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา
ตลาดรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2566 มีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากความผันผวนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงของการเลือกตั้ง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการชะลอการตัดสินใจซื้อ ซึ่งภาคประชาชน และภาคเอกชนต่างเฝ้ารอความชัดเจนในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลต่อไป
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนเมษายน 2566
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 59,530 คัน ลดลง 6.1 %
อันดับที่ 1 โตโยต้า 19,565 คัน ลดลง 9.8% ส่วนแบ่งตลาด 32.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,336 คัน ลดลง 19.6% ส่วนแบ่งตลาด 22.4%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 6,409 คัน เพิ่มขึ้น 25.5% ส่วนแบ่งตลาด 10.8%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 20,203 คัน ลดลง 1.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,284 คัน เพิ่มขึ้น 5.5% ส่วนแบ่งตลาด 36.1%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 3,783 คัน ลดลง 4.7% ส่วนแบ่งตลาด 18.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,503 คัน ลดลง 1.7% ส่วนแบ่งตลาด 7.4%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 39,327 คัน ลดลง 8.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 13,336 คัน ลดลง 19.6.% ส่วนแบ่งตลาด 33.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 12,281 คัน ลดลง 16.9% ส่วนแบ่งตลาด 31.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,869 คัน เพิ่มขึ้น 13.4% ส่วนแบ่งตลาด 7.3%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 26,818 คัน ลดลง 20.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 11,880 คัน ลดลง 23.1% ส่วนแบ่งตลาด 44.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 10,249 คัน ลดลง 18.7% ส่วนแบ่งตลาด 38.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,869 คัน เพิ่มขึ้น 13.4% ส่วนแบ่งตลาด 10.7%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,944 คัน
โตโยต้า 1,900 คัน – อีซูซุ 1,676 คัน – ฟอร์ด 837 คัน – มิตซูบิชิ 438 คัน – นิสสัน 93 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 21,874 คัน ลดลง 24.8%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 10,204 คัน ลดลง 27.9% ส่วนแบ่งตลาด 46.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 8,349 คัน ลดลง 19.8% ส่วนแบ่งตลาด 38.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,032 คัน ลดลง 8.1% ส่วนแบ่งตลาด 9.3%