31 C
Bangkok
Tuesday, December 17, 2024
มอเตอร์ไซค์​ honda
AD Banner_900x180
FORD900x192px_1
Honda_900x192px 2024
musubishi900x192px_2024
Mitsubishi_900x192px_2
previous arrow
next arrow

ราคาน้ำมันดิบผันผวนแดนบวก อุปสงค์น้ำมันปรับขึ้น

ปตท. เผยผลวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 8-12 พ.ย. 64 และแนวโน้ม 15-19 พ.ย. 64 โดยตลาดน้ำมันสำเร็จรูปเบรนท์ (ICE Brent) ราคา 83.18 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาขึ้น +0.24 ตลาดน้ำมันสำเร็จรูป เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ราคา 81.96 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาขึ้น +0.18 เหรียญสหรัฐฯ ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปดูไบ (Dubai) ราคา 82.29 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาขึ้น 0.64 เหรียญ สหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปซื้อซื้อขายล่วงหน้าประเทศสิงคโปร์ ราคาเบนซินออกเทน 95 ปรับราคาลดลง -3.15 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 98.69 เหรียญ สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดีเซลราคาปรับราคาลดลง -2.59 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา +0.61 เหรียญสหรัฐฯ

ตลาดน้ำมันเคลื่อนไหวผันผวนในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เฉลี่ยรายสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้นในรอบ 2 สัปดาห์ เนื่องจากอุปสงค์น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังจากการผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางในหลายๆ ประเทศ โดย OPEC คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกปี 2564 เพิ่มขึ้น 5.65 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ 96.44 ล้านบาร์เรลต่อวัน และปี 2565 เพิ่มขึ้น 4.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ 100.59 ล้านบาร์เรลต่อวัน สอดคล้องกับการคาดการณ์ของ EIA คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกปี 2564 เพิ่มขึ้น 5.12 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ 97.53 ล้านบาร์เรลต่อวัน และปี 2565 เพิ่มขึ้น 3.35 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ 100.88 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ราคาน้ำมันย้อนหลัง 15 วัน

อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบอาจได้รับแรงกดดันจากการระบายน้ำมันจากคลังสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve – SPR) ของสหรัฐฯ และคาดการณ์ของ Marco Dunand ประธานบริษัทค้าน้ำมัน Mercuria Energy Trading ว่าสหรัฐฯ จะเพิ่มปริมาณผลิตน้ำมัน Shale Oil เพื่อชดเชยความต้องการใช้ รวมถึงดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นส่งผลกดดันราคาน้ำมัน โดยล่าสุด 12 พ.ย. 64 ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดตลาดที่ 95.13 จุด แข็งค่าที่สุดตั้งแต่ ก.ค. 63

ด้านเทคนิค สัปดาห์นี้ราคา ICE Brent มีแนวโน้มอยู่ในกรอบ 80-85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และมีโอกาสที่ ICE Brent จะขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญ คือ 86 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

EIA รายงานโรงกลั่นในสหรัฐฯ นำน้ำมันดิบเข้ากลั่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 พ.ย. 64 เพิ่มขึ้น 0.34 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 15.37 ล้านบาร์เรลต่อวัน และอัตราการกลั่น (Refinery Utilization) เพิ่มขึ้น 0.4% จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 86.7% ของกำลังการกลั่นรวม

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

บริษัท Rosneft ของรัสเซีย รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 เพิ่มขึ้น 3.2% จากไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ 3.98 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดย Rosneft ตั้งเป้าเพิ่มการผลิตสู่ระดับก่อนเกิด COVID-19 ที่ 4.30 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในปี 2565

Related Articles

Stay Connected

269FansLike
2,760SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles