30.2 C
Bangkok
Wednesday, April 17, 2024
https://www.thaihonda.co.th/honda/
httpswww.motorshow.in.th
https://www.ford.co.th/showroom/all-offers/?gad_source=1&gclid=CjwKCAjw7-SvBhB6EiwAwYdCAUeXeLmbyKoh6AaDtpaMUHnzvZKmqjeUcdKuGl01jW2_5mnKKbrywBoCM2cQAvD_BwE&gclsrc=aw.ds
https://www.mercedes-benz.co.th/th/passengercars.html
https://www.thaihonda.co.th/honda/
httpswww.motorshow.in.th
FORD900x192px_1
https://www.mercedes-benz.co.th/th/passengercars.html_BENZ900X192px
previous arrow
next arrow

ราคาน้ำมันโลกปรับลด สวนทางเงินดอลลาร์แข็งค่า-อุปสงค์น้ำมันจีนฟื้นตัว

ปตท.เปิดเผยผลการวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 20-24 ก.พ.66 และแนวโน้ม 27 ก.พ.-3 มี.ค. โดยตลาดน้ำมันสำเร็จรูปเบรนท์ (ICE Brent) ราคา 82.62เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาลดลง -2.52 ตลาดน้ำมันสำเร็จรูป เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ราคา 75.51 เหรียญต่อบาร์เรล ปรับราคาลดลง -3.01 เหรียญ สหรัฐฯ ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปดูไบ (Dubai) ราคา 81.45 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาลดลง -2.32 เหรียญ สหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปซื้อซื้อขายล่วงหน้าประเทศสิงคโปร์ ราคาเบนซินออกเทน 95 ปรับราคาลดลง -2.40 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 98.19 สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดีเซลราคาปรับราคาลดลง -4.27 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 104.22 เหรียญสหรัฐฯ

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลง จากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรุนแรงขึ้น ซึ่งจะกดดันเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมัน โดยตลาดคาดว่าในปี 66 Fed อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบัน สู่ระดับ 5.25-5.50% มากกว่าที่เคยคาดการณ์ 0.25% จะเป็นปัจจัยกดดันราคาสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น้ำมัน โดยดัชนีดอลลาร์ (DXY Index) เทียบกับตะกร้าเงินสกุลหลักของโลก 24 ก.พ. 66 ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 0.61 จุด จากวันก่อนหน้า อยู่ที่ 105.21 จุด สูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์ กดดันราคาน้ำมัน

อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันโลกจะได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์น้ำมันของจีนที่กำลังฟื้นตัว โดยเฉพาะภาคการเดินทางทางอากาศ โดยสำนักวิเคราะห์ Wood Mackenzie, FGE, Energy Aspects และ S&P Global Commodity Insight คาดการณ์ว่าจีนจะนำเข้าน้ำมันดิบในปี 66 เพิ่มขึ้น 0.5 – 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 11.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ขณะที่ตลาดกังวลว่าอุปทานน้ำมันจากรัสเซียจะตึงตัว หากรัสเซียลดการผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทมากกว่า 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน มี.ค. 66 ตามที่เคยประกาศไว้ เพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรและตั้งเพดานราคาน้ำมัน (Price Cap) ของชาติตะวันตก โดย Reuters รายงานรัสเซียมีแผนลดการส่งออกน้ำมันดิบจากท่าเรือ Primorsk และ Ust-Luga ในทะเลบอลติก และท่า Novorossiysk ในทะเลดำ 25% ในเดือน มี.ค.-เม.ย. 66

สัปดาห์นี้ ทางเทคนิคคาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 80 – 85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ในไตรมาส 4/65 (ประมาณการณ์ครั้งที่ 2) อยู่ที่ +2.7% จากไตรมาสก่อนหน้า (ไตรมาส 3/65 ซึ่งอยู่ที่ +3.2% จากไตรมาสก่อนหน้า)

Kpler รายงานสหรัฐฯ ส่งออกน้ำมันดิบสู่ยุโรปในเดือน ก.พ. 66 เพิ่มขึ้น 0.03 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 1.56 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

Morgan Stanley ปรับคาดการณ์อัตราการเติบโตของอุปสงค์น้ำมันโลก เพิ่มขึ้น 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 1.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า จากการเปิดประเทศของจีนและการฟื้นตัวของภาคการบิน

Petroleum Planning and Analysis Cell (PPAC) ของอินเดียคาดการณ์อุปสงค์เชื้อเพลิงในปี 66 เพิ่มขึ้น 4.7% จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ 233.8 ล้านตัน โดยอุปสงค์ Gasoline เพิ่มขึ้น 7.1% จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ 37.8 ล้านตัน และอุปสงค์ Gasoil เพิ่มขึ้น 4.2% จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ 90.6 ล้านตัน

Baker Hughes Inc. รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบ (Rig) ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 ก.พ. 66 ลดลง 7 แท่น จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 600 แท่น

Related Articles

Stay Connected

269FansLike
2,760SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles