ปตท. เผยผลการวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 27-31 ธ.ค. 64 และแนวโน้ม 3-7 ม.ค. 65 โดยตลาดน้ำมันสำเร็จรูปเบรนท์ (ICE Brent) ราคา 78.82 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +4.06 ตลาดน้ำมันสำเร็จรูป เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ราคา 76.06 เหรียญต่อบาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +4.49 เหรียญ สหรัฐฯ ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปดูไบ (Dubai) ราคา 76.94 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +4.73 เหรียญ สหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปซื้อซื้อขายล่วงหน้าประเทศสิงคโปร์ ราคาเบนซินออกเทน 95 ปรับราคาเพิ่มขึ้น +4.05 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 92.41 เหรียญ สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดีเซลราคาปรับราคาเพิ่มขึ้น +4.93 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 90.56 เหรียญสหรัฐฯ
ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยรายสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยนักลงทุนคาดว่าอุปสงค์จะฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2565 โดย Giovanni Staunovo นักวิเคราะห์จาก UBS Bank คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ในปี 2565 จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 80 – 90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
คาดว่าอุปสงค์น้ำมันโลกในปีนี้จะเติบโต 3.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า เฉลี่ยอยู่ที่ 100.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งสูงกว่าระดับก่อนเกิด COVID-19 ผนวกกับ EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 24 ธ.ค.64 ลดลง 3.6 ล้านบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 420 ล้านบาร์เรล เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน รวมทั้งปริมาณสำรองน้ำมันดิบในคลังสำรองปิโตรเลียมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) ลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 595 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดตั้งแต่เดือน พ.ย. 45
อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงวันหยุดเทศกาล และ The Joint Technical Committee (JTC) คาดการณ์ว่าผลกระทบของ Omicron จะไม่รุนแรงและกระทบในระยะสั้น เนื่องจากโลกมีความพร้อมมากขึ้นในการจัดการกับการแพร่ระบาด
คาดการณ์ปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ของกลุ่มประเทศ Organization for Economic Cooperation and Development (OECD) ในปี 2565 จะยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2565 ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ย 24 ล้านบาร์เรล ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 และปรับลดคาดการณ์ภาวะเกินดุล หรือปริมาณการผลิตน้ำมันสูงกว่าปริมาณความต้องการใช้น้ำมันของตลาดน้ำมันในปี 2565 จาก 1.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็น 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่ากลุ่ม OPEC และพันธมิตร (OPEC+) จะยืนยันเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบที่เดือนละ 400,000 บาร์เรลต่อวัน ในการประชุมวันที่ 4 ม.ค. 65
ด้านเทคนิค สัปดาห์นี้ราคา ICE Brent มีแนวโน้มอยู่ในกรอบ 77 – 85.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และมีโอกาสที่ ICE Brent จะผ่านแนวต้านสำคัญ คือ 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 85.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
บริษัทน้ำมันแห่งชาติของลิเบีย (National Oil Corporation: NOC) รายงานลิเบียผลิตน้ำมันดิบลดลงต่อเนื่อง หลังกองกำลังติดอาวุธปิดแหล่งผลิตน้ำมัน Sharara (0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน) และปิดเพื่อซ่อมท่อขนส่งน้ำมันดิบ ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบรวมอยู่ที่ 0.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปริมาณการผลิตในเดือน ธ.ค. 64 ซึ่งอยู่ที่ 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
กระทรวงพลังงานของรัสเซียรายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสท ในปี 2564 เพิ่มขึ้น 2.4% จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 10.52 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยในปี 2565 คาดการณ์ปริมาณการผลิตของรัสเซียอยู่ที่ 10.84 -11.05 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ รัสเซียผลิตคอนเดนเสทประมาณ 0.7 – 0.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน