ภาพรวมตลาดรถยนต์เมืองไทยประจำเดือนพฤษภาคม 2566 เติบโตเพิ่มขึ้น 0.5% ทำยอดขายรวมทั้งสิ้น 65,088 คัน โดยเฉพาะรถยนต์นั่งเติบโต 29.4% ด้วยยอดขาย 25,985 คัน คาดการณ์ตลาดรวมในเดือนมิถุนายน 2566 มีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง จากความผันผวนเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อจะเป็นอุปสรรคสำคัญ
นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤษภาคม 2566 ด้วยยอดขาย 65,088 คัน เพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งทำยอดขายได้สูงที่ 25,985 คัน เติบโตถึง 29.4% ขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวต่อเนื่องด้วยตัวเลขการขาย 39,103 คัน ลดลง 12.4% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ ชะลอตัวเช่นกันที่ 27,323 คัน ลดลง 19.2%
ตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2566 มีปริมาณการขายที่ 65,088 คัน เพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งเป็นเซกเมนต์สำคัญที่ผลักดันการเจริญเติบโตของตลาดรถยนต์เดือนนี้ที่ 29.4% ด้วยยอดขาย 25,985 คัน ขณะที่รถเพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวต่อเนื่องที่ 12.4% ด้วยยอดขาย 39,103 คัน
ในส่วนของตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ชะลอตัวเช่นกันที่ 19.2% และยอดขาย 27,323 คัน เป็นผลมาจากการชะลอการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องของภาคธุรกิจ และภาคประชาชน เพื่อรอความชัดเจนทางด้านนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐ ขณะที่ตลาดรถยนต์นั่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ECO Car มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเดินทางที่เป็นส่วนตัวของประชาชนภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด
ตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายน 2566 ยังมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง จากความผันผวนทางเศรษฐกิจที่ยังดำเนินต่อไป รวมทั้งความมั่นใจของผู้บริโภคที่ยังไม่ดีขึ้น ตลอดจนความเข้มงวดของสถาบันการเงินที่มีความกังวลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค อันส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการผ่อนชำระของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ที่ต้องการความคล่องตัวทางเศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤษภาคม 2566
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 65,088 คัน เพิ่มขึ้น 0.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,296 คัน ลดลง 4.0% ส่วนแบ่งตลาด 32.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,281 คันลดลง 15.6% ส่วนแบ่งตลาด 20.4%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 6,697 คัน เพิ่มขึ้น 33.0 % ส่วนแบ่งตลาด 10.3%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 25,985 คัน เพิ่มขึ้น 29.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,266 คัน เพิ่มขึ้น 43.2% ส่วนแบ่งตลาด 31.8%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 4,415 คัน เพิ่มขึ้น 38.4% ส่วนแบ่งตลาด 17.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,506 คัน ลดลง 27.5 % ส่วนแบ่งตลาด 5.8%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 39,103 คัน ลดลง 12.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 13,281 คัน ลดลง 15.6.% ส่วนแบ่งตลาด 34.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 13,030 คัน ลดลง 20.6% ส่วนแบ่งตลาด 33.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,993 คัน เพิ่มขึ้น 32.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.7%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 27,323 คัน ลดลง 19.2%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 2,131 คันลดลง14.5% ส่วนแบ่งตลาด 44.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 10,205 คัน ลดลง 26.6% ส่วนแบ่งตลาด 37.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,993 คัน เพิ่มขึ้น 32.1% ส่วนแบ่งตลาด 11.0%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,896 คัน
อีซูซุ 2,076 คัน – โตโยต้า 1,568 คัน -ฟอร์ด 707 คัน – มิตซูบิชิ 460 คัน – นิสสัน 85 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 22,427 คัน ลดลง 23.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 10,055 คัน ลดลง 22.0% ส่วนแบ่งตลาด 44.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 8,637 คัน ลดลง 27.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,286 คัน เพิ่มขึ้น 24.8 % ส่วนแบ่งตลาด 10.2%