ภาพรวมตลาดรถยนต์เมืองไทยเดือนกรกฎาคม 2564 มีปริมาณขายลดลงในทุกกลุ่ม ยอดขายรวม 52,442 คัน ลดลง 11.6% จาหปัจจัยผู้บริโภคกังวลต่อภาวะการระบาดไวรัส COVID-19 ระลอกใหม่ กิจกรรมเศรษฐกิจหยุดชะงักจากมาตรการภาครัฐที่ควบคุมสูงสุด 29 จังหวัด และทุกพื้นที่ของประเทศไทยเผชิญการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดวายพันธุ์เดลต้าอย่างรุ่นแรง ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อต่อวันกว่า 20,000 ราย ต่อเนื่องนานนับเดือน คาดการณ์แนวโน้มตลาดในเดือนสิงหาคม 2564 จะชะลอตัว ต่อเนื่อง
นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกรกฎาคม 2564 ชะลอตัวทุกเซ็กเมนท์ โดยมียอดขายรวมทั้งสิ้น 52,442 คัน ลดลง 11.6%ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 16,689 คัน ลดลง 9.8% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 35,753 คัน ลดลง 12.4% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 27,816 คัน ลดลง 15%
ตลาดรถยนต์เดือนกรกฎาคม 2564 มีปริมาณการขาย 52,442 คัน ลดลง 11.6% โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 9.8% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 12.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากความวิตกกังวลต่อภาวะการระบาดของไวรัส COVID-19 ระลอกที่ 3 และ 4 อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา และการระบาดของสายพันธุ์ Delta ที่แพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิม ทำให้มีผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส จึงมีมาตรการขยายพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดจากเดิมจาก 10 จังหวัด เป็น 13 จังหวัด ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การดำเนินธุรกิจของประชาชน และมีส่วนทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชะลอการตัดสินใจซื้อสิ้นค้าทุกประเภทที่ยังไม่ความจำเป็น
ตลาดรถยนต์ในเดือนสิงหาคม 2564 มีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากความกังวลต่อการระบาดของไวรัส COVID-19 ในระลอกที่ 4 รวมทั้งการออกมาตรการล็อกดาวน์และเคอร์ฟิวในช่วงเวลา 21.00 – 04.00 น. เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ต้องชะลอ หรือเลื่อนกำหนดการออกไป รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่มีเสถียรภาพน้อยลง และการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนที่ล่าช้าส่งผลให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยชะลอตัว และขาดแรงกระตุ้นในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งนี้ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจโดยรวม และทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดียังมีความหวังว่าสถานการณ์ต่างๆ จะฟื้นตัวดีขึ้นจากความพยายามของภาครัฐในการแก้ไขปัญหา และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในอนาคตอันสั้น
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกรกฎาคม 2564
1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 52,442 คัน ลดลง 11.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,040 คัน ลดลง 2.9% ส่วนแบ่งตลาด 32.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,680 คัน ลดลง 11.6% ส่วนแบ่งตลาด 26.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 6,958 คัน เพิ่มขึ้น 15.3% ส่วนแบ่งตลาด 13.3%
2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 16,689 คัน ลดลง 9.8%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 6,065 คัน เพิ่มขึ้น 16.3% ส่วนแบ่งตลาด 36.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 4,467 คัน ลดลง 11.4% ส่วนแบ่งตลาด 26.8%
อันดับที่ 3 มาสด้า 1,278 คัน ลดลง 32.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.7%
3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 35,753 คัน ลดลง 12.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 13,680 คัน ลดลง 11.6% ส่วนแบ่งตลาด 38.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 12,565 คัน เพิ่มขึ้น 0.4% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,121 คัน ลดลง 8.4% ส่วนแบ่งตลาด 5.9%
4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 27,816 คัน ลดลง 15%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 12,401 คัน ลดลง 13.4% ส่วนแบ่งตลาด 44.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 10,563 คัน เพิ่มขึ้น 1.3% ส่วนแบ่งตลาด 38.0%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,121 คัน ลดลง 8.4% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 2,695 คัน
โตโยต้า 1,103 คัน-อีซูซุ 943 คัน-มิตซูบิชิ 394 คัน-ฟอร์ด 229 คัน-นิสสัน 26 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 25,121 คัน ลดลง 15.5%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 11,458 คัน ลดลง 17.0% ส่วนแบ่งตลาด 45.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 9,460 คัน ลดลง 0.2% ส่วนแบ่งตลาด 37.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,892 คัน เพิ่มขึ้น 0.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%